สวัสดีครับ ผม โจ้ พัฒนากร วันนี้จะมาแบ่งปันประสบการณ์จากการที่ผมจดีโครงการฝึกอาชีพสอนทำไม้กวาดทางมะพร้าว ให้กับหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอสามร้อยยอด ซึ่งผู้เข้าอบรมกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60-70 ปี เรียกว่าผู้สูงอายุวัยต้นก็ได้ครับ ซึ่งเรามีเวทีให้ความรู้ด้านการเงินจากธนาคาร ธกส.มาเป็นวิทยากรให้กับผู้เข้าอบรม สินการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน การวางแผนการออมเงิน จากนั้นจึงเรียนรู้การทำไม้กวาดทางมะพร้าวกัน…
ซึ่งเวทีการให้ความรู้ด้านการออมผมลองสังเกตสีหน้าของผู้เข้าอบรมบ่งบอกถึงการไม่อยากรับข้อมูลอย่างมาก และมีอคติด้านลบด้านการเงินบอกว่าไม่มีเงินเก็บรายจ่ายประจำก็ลดไม่ได้ พอพูดถึงการออมก็ไม่สนใจกันเลยทีเดียว แต่พอเป็นเรื่องตัวเลข เรื่องหวยทุกคนพร้อมจิตพร้อมใจกันคุยเป็นเสียงเดียวกัน ทำให้ค่อนข้างทึ่งกับทัศนคติด้านการเงินของชาวบ้านที่นี่ โดยธนาคาร ธกส. สนับสนุนเล่มบัญชีครัวเรือนมาให้ด้วย และแจกให้กลับไปก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่ามีก็ไม่จด จึงแนะนำให้ส่งต่อไปให้ลูกหลานที่บ้านแม้ตัวผู้เข้าอบรมไม่ทำ ผมก็หวังให้มีคนในบ้านได้ลองทำดู หรือจะลองจดรายรับรายจ่ายเฉพาะการซื้อหวยก็ได้ หากผู้เข้าอบรได้เห็นรายจ่ายแค่ค่าหวย และรายได้กลับมาจะได้เห็นความคุ้มค่าที่เสียไป และเสียไปมากน้อยเพียงใด แต่ก็เกรงจะกลายเป็นสมุดจดหวยแทน
หลังจากให้ความรู้ด้านการเงินก็ถึงคิวของวิทยากรสอนทำไม้กวาดอย่างลุงพิธี ทองสวัสดิ์ ผู้มากความสามารถทั้งด้านเกษตรกรรม และปราชญ์ชาวบ้านที่ไม่เคยหยุดเรียนรู้แม้จะอายุ 79 ปีแล้ว มาช่วยเป็นวิทยากรสินทำไม่กวาดจากก้านมะพร้าวที่ชาวบ้านนำทางมะพร้าวที่แห้งหล่นลงมาเหลาเอาก้านมาไว้สำหรับขายให้รถมารับซื้อ ในราคากิโลกรัมละ 13-15 บาท ซึ่งมีผู้สูงอายุที่อยู่บ้านไม่ได้ออกไปไหน หรือไม่มีเรี่ยวแรงออกไปทำงานข้างนอกก็มักจะยึดเอามาเป็นอาชีพ แม้ราคาจะถูกแต่ก็มีต้นทุนต่ำเพราะส่วนใหญ่ก้านมะพร้าวจะไปหาตามสวนมะพร้าวในพื้นที่ ซึ่งเจ้าของสวนส่วนใหญ่จะไม่หวงเพราะหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะรกสวนมีคนลากไปให้สวนก็ยังดูสะอาดสะอ้านดูแลได้ง่าย
ซึ่งการฝึกทำไม้กวาดทางมะพร้าวส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมักจะบอกว่าอายุมากแล้วทำไม่ไหว ไม่มีเรี่ยวแรง แต่พอมาเจอวิทยากรลุงพิธีที่อายุ 79 ปีไปแล้วนั่งทำนั่งสอน ก็เหมือนกับเด็กนักเรียนนั่งเรียนกับครูอย่างไรอย่างนั้นไม่มีการบ่นเรื่องอายุอีกเลย ซึ่งนี่เองผมมองเป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการฝึกสอนในครั้งนี้ และด้วยความชำนาญของวิทยากรที่ประสบการณ์ทำไม้กวาดกว่า 1 ปีของลุงพิธี อ่านไม่ผิดแน่นอนครับ ลุงพิธีเพิ่งหัดเรียนทำไม้กว่าจากโครงการอบรมของ กศน.อำเภอสามร้อยยอดมาสอนกลุ่มผู้สนใจในตำบล แต่มีลุงพิธีคนเดียวที่อยากเรียนรู้ เรียนแล้วรีบกลับมาตัวไม้ เหลาทางมะพร้าวแล้วทำเลยเพราะกลัวจะลืมวิชา จึงกลายเป็นผู้สำเร็จวิชาจนถึงปัจจุบัน ทำส่งขายร้านมามากกว่า 100 ด้าม ใน 1 ปี แม้จะทพบเฉพาะช่วงเวลาว่างจากการดูแลสวนขนาดใหญ่ของตนเองแล้ว
และที่นี่จึงกลายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ผู้เข้าอบรมเรียนรู้สามารถเรียนรู้ และทำไม้กวาดด้วยตนเองสำเร็จคนละ 1 ด้ามด้วยมือของตนเอง และหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นอาชีพให้กับผู้สูงอายุอยู่ติดบ้านได้ ด้วยความสามารถในการถ่ายทอดของลุงพิธี และการเรียบเรียงขั้นตอนที่ดูง่ายทำให้การทำไม้กวาดจากก้านมะพร้าวนี้ไม่ยากอีกต่อไป
นี่ก็เป็นประสบการณ์ของผมจากการได้พบผู้เข้าอบรมหมู่บ้านนี้ ได้เทคนิคได้ความรู้ ซึ่งสามารถถอดบทเรียนครั้งนี้ได้จากวิทยากรที่อายุมากกว่าผู้เข้าอบรมจะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้เข้าอบรมได้อย่างมาก จากลุงพิธี อายุ 79 ปี สอนผู้สูงอายุวันต้น 60-70 ปี ได้ง่าย ซึ่งลองคิดดูแล้วหากวิทยากรอายุน้อยก็อาจจะไม่สำเร็จ และดึงความสนใจอยากจะเรียนรู้จากผู้เข้าอบรมไม่ได้ และการส่งเสริมช่องทางการตลาดจะมาเล่าในตอนต่อไปนะครับ ตอนนี้อยู่ในช่วงวางแผนและสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อจำหน่ายอยู่ครับ หามสำเร็จจะนำมาแบ่งปันประสบการณ์นะครับ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามร้อยยอด ยังดำเนินการฝึกอาชีพต่อไป ในระดับตำบลศาลาลัย เพื่อสร้างตำบลศาลาลับให้เป็นตำบลเข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
1 ความเห็น
Pingback: ถอดบทเรียน การฝึกอาชีพจากวิทยากรในพื้นที่ - NuB-1.com โดย โจ้ พัฒนากร